วันที่ 7 ตุลาคม 2558 นายอโณทัย ไทยวรรณศรี ผอ.สพป.ตาก เขต 2 พร้อมด้วย นายเจิดจ้า น้อยสำลี รอง ผอ.สพป.ตาก เขต คณะศึกษานิเทศก์และบุคลากร สพป.ตาก เขต 2 ลงพื้นที่โรงเรียนบ้านแม่ระมาดน้อย อำเภอแม่ระมาด เพื่อประชุมการนำนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ที่จะนำมาใช้ในภาคเรียนที่ 2/2558 ที่จะถึงนี้ สำหรับเนื้อหาในนโยบายดังกล่าว นายอโณทัย ไทยวรรณศรี ผอ.สพป.ตาก เขต 2 กล่าวว่า "สำหรับนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ที่จะเกิดขึ้นในภาคเรียนที่ 2/2558 ซึ่งทางเขตพื้นที่ได้มีเป้าหมายโรงเรียนนำร่อง 37 โรง สาเหตุที่คัดเลือกโรงเรียนบ้านแม่ระมาดน้อยเป็นโรงเรียนนำร่อง โรงเรียนแรกนั้นก็ด้วยสภาพพื้นที่ กระบวนการจัดการเรียนการสอนซึ่งทางโรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับนโยบายมากที่สุด โดยจะแบ่งการเรียนออกเป็น 3 ส่วน โดยในภาคเช้าจะเป็นในส่วนของด้านทักษะวิชาการทั้ง 8 กลุ่มสาระ ในภาคบ่ายก็จะมีอีก 2 ส่วน ในช่วงแรกก็จะเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่มีการปฏิบัติ เช่น วิชาศิลปะ รวมไปถึงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ส่วนหลังจากบ่ายสองไปก็จะเป็นกิจกรรมเพิ่มเวลารู้ ซึ่งประกอบด้วยการเสริมทักษะลักษณะนิสัยหรือความต้องการของผู้เรียน เช่นเศรษฐกิจพอเพียง คุณธรรม จริยธรรม รวมไปถึงด้านอาชีพให้นักเรียนมีรายได้ ซึ่งโรงเรียนบ้านแม่ระมาดน้อยสามารถดำเนินการตามกรอบนโยบายได้ทันทีเนื่องจากได้ปฏิบัติมาโดยตลอดอยู่แล้วทั้งทักษะอาชีพและการมีงานทำ ซึ่งตอบโจทย์ที่รัฐบาลได้ให้นโยบายมาได้เป็นอย่างดี อีกทั้งผู้ปกครองก็ให้การยอมรับแนวคิดและวิธีการสอนในลักษณะนี้เพราะทำให้บุตรหลานของตนสามารถนำวิชาความรู้ที่ได้ไปช่วยครอบครัวประกอบอาชีพเมื่อเรียนจบอีกด้วย" ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู โรงเรียนในกลุ่มอำเภอแม่ระมาด ชมภาพเพิ่มเติม
วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 09.30 น.นายอโณทัย ไทยวรรณศรี ผอ.สพป.ตาก เขต 2 พร้อมเจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงานการจัดการศึกษาเด็กต่างด้าว สพป.ตาก เขต 2 เข้าร่วมปฐกถางาน วันครูโลก 2558 (World Teacher Day '2015) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูผู้สอนได้ตระหนักถึงความสำคัญและหน้าที่ของตนเองและพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จัดโดยสมาคมครูชาวพม่า (BMTA)ร่วมกับองค์กรเอกชนจัดการศึกษา (NGOs) ณ ศูนย์การเรียนซีดีซี อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีครูใหญ่และผู้สอนศูนย์การเรียนเด็กต่างด้าว เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 742 คน จาก 70 ศูนย์การเรียน
"Read Right for Child (RRC.) หน่วยพัฒนาการอ่านออกเขียนได้สำหรับเด็กพื้นที่สูง"เป็นทีมงานผลิตสื่อและนวัตกรรม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาการอ่านออกเขียนได้สำหรับเด็กนักเรียนห้องเรียนสาขาโดยเฉพาะ อันเนื่องมาจากอยู่ในพื้นที่ห่างไกลในถิ่นธุรกันดารและภูเขาสูงทำให้เป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งที่จะได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและทัดเทียมกับเด็กในพื้นราบและในเมือง กอร์ปกับจำนวนครูที่จะเข้าไปทำการสอนก็มีไม่เพียงพอ ทางโรงเรียนแม่จึงมีความจำเป็นต้องจ้างครูภายในท้องถิ่นที่จบวุฒิ ม.ปลายเข้าไปทำการช่วยสอน ทำให้การพัฒนาด้านการเรียนรู้ของเด็กอาจไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ทีมงาน #หน่วยพัฒนาการอ่านออกเขียนได้สำหรับเด็กพื้นที่สูง ซึ่งเป็นแนวคิดของนายอโณทัย ไทยวรรณศรี ผอ.สพป.ตาก เขต 2 ต้องการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเฉพาะเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ให้สูงและดียิ่งขึ้นโดยนำร่องจากห้องเรียนสาขาอำเภอท่าสองยาง ชมภาพเพิ่มเติม